๖ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาต้นแบบ เรียนรู้ศาตสร์พระราชาอย่างยั่งยืน
“…เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เมื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม…” ปฐมบรมราชโองการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานแก่พสกนิกรตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ นับเป็นจุดเริ่มตันของการทรงานหนักเพื่อความสุขและความร่มเย็นของคนไทยทั้งชาติ ตลอดเส้นทางการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรทั่วประเทศ ทำให้พระองค์ทรงทราบว่าปัญหาพื้นฐานของเกษตรกรไทยในแต่ละภูมิภาคของ
ประเทศมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ทั้งปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาเรื่องที่ทำกิน และปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมสรรพวิชาการทางด้นเกษตรกรรม เป็นเสมือน ‘พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต’ โดยมีกิจกรรมด้านการศึกษาพัฒนาที่ต่อเนื่อง และขยายผลที่เป็นความสำเร็จสู่เกษตรกรและชุมชนในภูมิภาคนั้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พศ. ๒๕๒๒ ปัจจุบันมีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๖ ศูนย์ ได้แก่
๑, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
๒. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔
๓ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕
๔. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕
๕. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕
๖. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๖
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็น “ต้นแบบ” ของระบบบริการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว (One Stop Service) ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจกันของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนท้องถิ่น ในการสานต่อแนวพระราชดำริเพื่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้พสกนิกรของพระองค์อยู่ร่วมกันบนผืนแผ่นดินไทยได้อย่างมีความสุข คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ ๖ ศูนย์ศึกษาการ
พัฒนาต้นแบบ เรียนรู้ศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน เล่มนี้ จะเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อประชาชนทุกคนที่สนใจในศาสตร์ของพระราชา ได้ใช้เรียนรู้ ศึกษา และร่วมสืบสานงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน