คำนำสำนักพิมพ์
ในราว พ.ศ. ๒๕๓๑ อาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ หรือ น. ณ ปากน้ำ ได้เริ่มเขียนต้นฉบับ “ย่ำต๊อกทั่วกรุงเทพฯ” ซึ่งเมื่อครั้งที่สำนักพิมพ์เมืองโบราณจัดพิมพ์ผลงานนี้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ จำได้ว่าต้นฉบับที่ได้รับมาเป็นลายมือเขียนของอาจารย์ที่เขียนต่อเนื่องจากต้นจนจบ โดยไม่มีหัวข้อ ไม่มีสารบัญ หากได้อ่านเนื้อหาจะเห็นว่าเป็นงานที่อาจารย์เขียนในทำนองเล่าเรื่องจากความทรงจำที่มีต่อกรุงเทพฯ ทั้งความทรงจำจากการอ่าน จากที่รับฟังมาเกี่ยวกับอดีตของเมืองหลวงแห่งนี้ และจากประสบการณ์ของอาจารย์ที่ใช้ชีวิตผูกพันกับกรุงเทพฯ มาตั้งแต่เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นเวลามากกว่า ๗๐ ปีมาแล้ว การเล่าถึงอดีตกรุงเทพฯ อาจารย์ใช้วิธีการพาเราย่ำต๊อกตามถนน โดยอาจารย์ได้กำหนดเส้นทางคร่าว ๆ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และฝั่งธนบุรี ไปเดินดูอาคารเก่าริมถนน ชมวัดเก่าต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่ โดยอาจารย์จะให้ความรู้ด้านศิลปะไทย สิ่งไหนมีความพิเศษที่น่าชมอันเป็นความงามในสายตาของอาจารย์ รวมไปถึงสิ่งที่อาจารย์สนใจ เช่น ดนตรี ผลงานของสถาปนิกคนสำคัญของไทย เป็นต้น เสริมด้วยทัศนะของอาจารย์ต่อบางเรื่องบางสิ่งที่ท่านได้พบในขณะนั้นและเห็นว่าควรปรับปรุงให้เหมาะสม ซึ่งหลายสิ่งหลายเรื่องก็ไม่ปรากฏแล้วในปัจจุบัน ย่ำต๊อกทั่วกรุงเทพฯ เล่มนี้จึงนับว่าเป็นการบันทึกประวัดิศาสตร์สังคมเมืองกรุงเทพฯ ในอีกมุมมอง
พ.ศ. ๒๕๒๕ อันเป็นปีที่กรุงเทพฯ ได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมา ๒๕๐ ปี สำนักพิมพ์เมืองโบราณจึงเห็นควรว่าน่าจะนำย่ำต๊อกทั่วกรุงเทพฯ มาตีพิมพ์อีกครั้ง เพื่อให้นักอ่านรุ่นใหม่ ๆ ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ในการพิมพ์ครั้งนี้ได้ปรับปรุงใหม่ โคยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของภาพประกอบที่เน้นการหาภาพจากศูนย์ข้อมูลเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ หรือเดิมคือศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณเป็นหลัก เน้นเลือกชุดภาพขาวคำที่บันทึกโดยอาจารย์และคณะจัดทำวารสารเมืองโบราณยุคแรกเริ่มเมื่อประมาณ ๔o กว่าปีมาแล้ว เป็นภาพของวัดและสถานที่ต่าง ๆ จัดเป็นชุดภาพให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อาจารย์เขียนถึง เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นสภาพในอดีตที่ใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่อาจารย์พบเห็นและเขียนผลงานเล่มนี้ ซึ่งหลายแห่งได้รับการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้สวยงามในปัจจุบัน แต่หลายแห่งก็สูญหายไปคามกาลเวลาและพัฒนาการของเมือง
หากท่านอ่าน ย่ำต๊อกทั่วกรุงเทพฯ จบแล้วอยากให้ลองถามรอยเส้นทางการย่ำเดินของอาจารย์ประยูร ท่านอาจได้เห็นสิ่งที่อาจารย์เล่าไว้ และอาจพบมุมมองใหม่ที่มีต่อเมืองหลวงแห่งนี้…เป็นอีกประสบการณ์ชีวิตของท่าน
สำนักพิมพ์เมืองโบราณ
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕